PLASMA SURFACE TREATING MACHINE
เครื่องปรับผิววัตถุด้วยพลาสม่า

ใช้ปรับผิววัตถุเพื่อเพิ่มการยึดเกาะของสี กาว น้ำยาเคมี เคลือบฟิล์ม หรือการลามิเนต บนผิววัตถุนั้นให้ติดแน่นทนทาน

พลาสม่าคือไอออนไนซ์แก๊ส(ionized gas) หรือแก๊สที่อิเลคตรอนหลุดออกจากอะตอม แตกตัวออกเป็นไอออน
(ion, อะตอมที่มีจำนวนอิเลคตรอนไม่เท่ากับจำนวนโปรตรอน) และอิเลคตรอนอิสระ(free electron)
โดยนักวิทยาศาสตร์ได้จัดพลาสม่าให้เป็นสสารในสถานะที่4 (the fourth state of matter) ต่อจากของแข็ง ของเหลว และแก๊ส

ยกตัวอย่างง่ายๆให้เข้าใจถึงสถานะที่4 เข่น น้ำแข็งมีสถานะเป็นของแข็ง(สถานะที่1)
หากให้พลังงานแก่น้ำแข็งจนถึงจุดหนึ่งน้ำแข็งจะกลายเป็นน้ำซึ่งมีสถานะเป็นของเหลว(สถานะที่2)
และหากให้พลังงานแก่น้ำเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ น้ำจะกลายเป็นไอน้ำซึ่งมีสถานะเป็นแก๊ส(สถานะที่3) และหากให้พลังงานแก่ไอน้ำ
เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไอน้ำจะแตกออกกลายเป็นอะตอมของไฮโดรเจนและอ๊อกซิเจน แต่ยังคงจัดอยู่ในสถานะแก๊สเหมือนเดิม
เนื่องจากในอะตอมนั้นมีจำนวนอิเลคตรอนเท่ากับจำนวนโปรตรอน และหากให้พลังงานแก่แก๊สนั้นเพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนถึงจุดหนึ่ง
อิเลคตรอนบางตัวของแก๊สจะหลุดออกจากอะตอม ที่สถานะนี้แก๊สจะกลายเป็นไอออนไนซ์แก๊สหรือพลาสม่า(สถานะที่4)นั่นเอง

เครื่องปรับผิววัตถุด้วยพลาสม่ามีพื้นฐานจากการผ่านอากาศเข้าไปในบริเวณที่มีสนามไฟฟ้าแรงสูง อากาศเมื่อได้รับพลังงานจากไฟฟ้า
จะแตกตัวกลายเป็นพลาสม่าพุ่งออก ซึ่งเมื่อพลาสม่ากระทบกับผิววัตถุจะช่วยปรับพื้นผิวของวัตถุทั้งที่เป็นโลหะและอโลหะได้

เช่น อลูมิเนียม เหล็ก แสตนเลส ยาง พลาสติก กระจก แก้ว เป็นต้น โดยขั้นแรกจะทำความสะอาดผิววัตถุในระดับไมโคร(microclean)
ซึ่งสามารถกำจัดสิ่งที่เกาะบนผิวจากสารประกอบประเภทไฮโดรคาร์บอน เช่น น้ำมัน จาระบี ออกได้ และขั้นต่อมาคือเพิ่มแรงตึงผิว
เพื่อการยึดเกาะหรือการประสานกันของผิววัตถุ(adhere) ซึ่งนำมาใช้ประโยชน์ได้ในงานหลากหลายกลุ่ม เช่น

งานชิ้นส่วนรถยนต์ ช่วยประสานกาวบนซีลยาง ปรับผิวกระจกก่อนเคลือบฟิล์มหรือกาว

งานพิมพ์ ช่วยให้สีหรือรหัสที่พิมพ์ติดแน่นบนวัตถุ เช่น ท่อพลาสติก ท่อยาง สายไฟ ขวดแก้ว

งานชุบหรือเคลือบโลหะและอโลหะ ช่วยปรับผิววัตถุก่อนชุบหรือเคลือบ หรืองานเคลือบฟิล์มบนวัตถุโดยไม่ใช้กาว

งานอิเลคโทรนิคส์ ช่วยปรับผิวอุปกรณ์อิเลคโทรนิคส์ก่อนการประสาน ชุบ บัดกรี เชื่อม เคลือบน้ำยา ติดกาว

งานกล่องบรรจุภัณฑ์ ช่วยปรับผิวสันกล่อง ผิวกล่องกระดาษเคลือบพลาสติก ก่อนทากาว

เครื่องรุ่นต่างๆ

   
PLASMA BEAM

ใช้ไฟ 220 โวลท์ 1 เฟส
ปรับผิวได้ทั้งโลหะและอโลหะ
ใช้ลมอัดธรรมดาจากปั้มลม

รุ่น 600W : หน้ากว้างปรับผิวประมาณ 10 มม.
รุ่น 1200W : หน้ากว้างปรับผิวประมาณ 20 มม.
โดยหน้ากว้างปรับผิวขึ้นกับชนิดและความเร็วของวัสดุที่จะปรับด้วย

     
  PLASMA ROTARY BEAM

 

ใช้ไฟ 220 โวลท์ 1 เฟส
ปรับผิวได้ทั้งโลหะและอโลหะ ใช้ลมอัดธรรมดาจากปั้มลม 

รุ่น 600W : หัวพ่นแบบ 06-1 หน้ากว้างปรับผิว 30-40 มม.
รุ่น 600W : หัวพ่นแบบ 06-2 หน้ากว้างปรับผิว 40-50 มม. 

รุ่น 1200W : หัวพ่นแบบ 12-1 หน้ากว้างปรับผิว 30-40 มม.
รุ่น 1200W : หัวพ่นแบบ 12-2 หน้ากว้างปรับผิว 40-50 มม.
รุ่น 1200W : หัวพ่นแบบ 12-3 หน้ากว้างปรับผิว 50-60 มม.
รุ่น 1200W : หัวพ่นแบบ 12-4 หน้ากว้างปรับผิว 60-70 มม. 

โดยหน้ากว้างปรับผิวขึ้นกับชนิดและความเร็วของวัสดุที่จะปรับด้วย
ที่หน้ากว้างปรับผิวเท่ากัน เช่น 40 มม. เครื่องรุ่น 1200W จะเดินงาน
ได้เร็วกว่าเครื่องรุ่น 600
Wที่เครื่องรุ่นเดียวกัน หัวพ่นที่หน้ากว้างน้อยกว่า
จะเดินงานได้เร็วกว่าหัวพ่นที่หน้ากว้างมากกว่า

     
  PLASMA CURTAIN



ใช้ไฟ 220 โวลท์ 1 เฟส
เหมาะกับงานปรับผิวอโลหะ เช่น พลาสติก แก้ว เซรามิค
มีพัดลมโบลวเวอร์ในตัว ไม่ต้องใช้ลมอัดจากปั้มลม

รุ่น 750W : หน้ากว้างปรับผิวประมาณ 50 มม.

โดยหน้ากว้างปรับผิวขึ้นกับชนิดและความเร็วของวัสดุที่จะปรับด้วย


     

ภาพ VDO

P-Rubber-VDO
 
P-Cap-VDO
 

พื้นฐานการทำงาน

 

ภาพตัวอย่างงาน

   
 

ปรับผิวสายไฟก่อนพิมพ์รหัสสายไฟ

 


ปรับผิวโปรไฟล์พลาสติกหรือโปรไฟล์ยาง
ก่อนการติดสติ๊กเกอร์หรือพิมพ์รหัส

 

ปรับผิวท่อลม PU ก่อนงานพิมพ์รหัสท่อลม

 

ปรับผิวขวดแก้วก่อนพิมพ์รหัสผลิต

     
     
 
 
 copyright ©2011 penseplus. all rights reserved synermac.com